ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Webmaster

         Google Webmaster Tools คือบริการอย่างหนึ่งของ Google ที่่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์เว็บไซต์ของเราได้ บอกสถิติว่า Google search นั่นเก็บอะไรบนเว็บอะไรไปบ้าง เก็บเว็บของเราตั้งแต่เมื่อใด (ปัจจุบัน ไม่บอกแล้ว) สามารถดูได้ว่า การ search ของเราเป็นที่นิยมใน คำใด คำต่างๆในเนื้อหาในเว็บของเรา แต่ละคำ search แล้วอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง
        บริการ Google Webmaster Tools เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บต้องการตรวจสอบเว็บตนเองและปรับปรุงเว็บตนเอง เพื่อให้เว็บเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
        Google Webmaster Tools มี tools ต่างๆสำหรับ webmaster หลายโปรแกรม เช่น
1.    Analyze robots.txt
2.    Generate robots.txt
3.    Enhance 404 pages
4.    Manage Site verification
5.    Set crawl rate
6.    Set preferred domain
        นี่เป็นเพียง Tools บางตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นผลดีทั้งนั้นจะทำให้เว็บของคุณไปสู่ความสำเร็จได้ อีกทั้ง Google ยังให้คุณ submit sitemap ได้ที่นี่อีกด้วย เพื่อที่จะให้ Google รู้ว่า เว็บของคุฯมีหน้า page ใดบ้าง
สาเหตุที่เลือก Google Webmaster:
         Google Webmaster Tools คือบริการอย่างหนึ่งของ Google ที่่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์เว็บไซต์ของเราได้ บอกสถิติว่า Google search นั่นเก็บอะไรบนเว็บอะไรไปบ้าง เก็บเว็บของเราตั้งแต่เมื่อใด
วิธีเข้าใช้งานด้วย Google Webmaster:
          1. เข้าสู่ระบบของ Google Webmaster Tools ก่อนจาก
www.google.com/webmasters/tools ซึ่งการใช้งานครั้งแรกจะต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของ Google ก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้
          2.เพิ่มชื่อร้านค้าเข้าไปในระบบเพื่อทำการยืนยันความเป็นเจ้าของ ร้านค้า
          3. คัดลอก Meta Tag แล้วนำมาวางในหน้าฟอร์มปรับแต่งเว็บไซต์ ที่ช่อง กรอก verification code: คัดลอก Meta tag นำมาวางในช่อง กรอก verification code:
          4. หลังจากการยืนยันทำการยืนยันเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิก ส่ง Sitemap
          5. คลิกส่ง Sitemap แล้วใส่ shop/sitemap/category_xml_sitemap.php ลงไปแล้วกดปุ่มส่ง Sitemap
          6. จากนั้นรอให้ Google ยืนยันสถานะสักพัก หากไม่ผ่านให้ทำการตรวจสอบขั้นตอนการ Verification ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี-ข้อเสีย Google Webmaster:
          1. ทราบถึงข้อมูลสำคัญที่ Google เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณ
วันเก็บข้อมูลล่าสุด , หน้าเว็บที่ error, สถิติการเก็บข้อมูลของ Google, ตรวจสอบ External Links
          2. ทราบถึงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในด้านอันดับใน Google
          3. ทราบถึง Keywords ที่ติดอันดับใน Google, อันดับของแต่ละ Keywords  

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบจำนวนและการแทนค่า

                                                        เลขฐานและ การแปลงเลขฐาน


ระบบเลขฐานฐาน 2     0,1
ฐาน 8     0,1,2,3,4,5,6,7
ฐาน 10   0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
ฐาน 16   0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F


การแปลงเลขฐาน 10 เป็นเลขฐาน 2
สามารถแปลงได้ 2 วิธีคือ วิธีทางลัดและวิธีปรกติ
วิธีปรกติ เช่นเราจะเปลงเลข
(259)10 = (?)2
วิธีแรกคือวิธีการหาร 2 ลงไปเรื่อยๆ

ขั้นตอนแรกให้เราตั้ง 259 แล้วนำ 2 มาหารตัวที่นำมาหารได้คือ 129 แล้ว เศษ 1 ใส่ตามภาพ

2
259
1

129



ขั้นตอนต่อไป  ตั้ง 129 แล้วนำ 2 มาหารตัวที่นำมาหารได้คือ 64 แล้ว ไม่มีเศษใส่ 0
แล้ว ก็ใส่ตามภาพ


2
259
1
2
129
1

64


ขั้นตอนต่อไป ตั้ง 64 แล้วนำ 2 มาหารตัวที่นำมาหารได้คือ 32 แล้ว ไม่มีเศษใส่ 0 แล้ว
ใส่ตามภาพ


2
259
1
2
129
1
2
64
0

32


ขั้นตอนต่อไป ตั้ง 32 แล้วนำ 2 มาหารตัวที่นำมาหารได้คือ 16 แล้ว ไม่มีเศษใส่ 0 แล้ว ใส่ตามภาพ


2
259
1
2
129
1
2
64
0
2
32
0

16


ขั้นตอนต่อไป  ตั้ง 16 แล้วนำ 2 มาหารตัวที่นำมาหารได้คือ 8 แล้ว ไม่มีเศษใส่ 0 แล้ว ใส่ตามภาพ

2
259
1
2
129
1
2
64
0
2
32
0
2
16
0

8



ทำไปเรื่อย จนได้แบบภาพ


2
259
1
2
129
1
2
64
0
2
32
0
2
16
0
2
8
0
2
4
0
2
2
0

1


แล้วเลขฐาน 2 คือ ค่าเศษจากที่ หารๆ มาให้เรียงจากล่างสุดไปด้านบน
(259)10 = (100000011)2

ความหมายของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์

          
               เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology หรือ IT)  คือ เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ   การประมวลผล การค้นคว้าสารสนเทศ   สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น  3  กลุ่ม คือ           
           1.คอมพิวเตอร์
           2.สื่อสาร
           3.ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย
             
                  ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีกมากมาย  องค์ประกอบทั้ง   3  ส่วน ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกันยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซริฟเวอร์คอมพิวเตอร์  เกิดการบริการ  Online  ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่                 
                  E-commerce            คือ  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                 
                  Internet Banking  คือ  การให้บริการผ่าน  Internet
                  E-learning 
               คือ  เรียนผ่านทาง
Internet
                  E-goverinment 
    คือ  รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

คอมพิวเตอร์  คือ  คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ระบบคอมพิวเตอร์  คือ  การเชื่อมโยงหลายเครื่อง
System   คือ  ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  4  อย่าง
                  1.  Hardware 
                 2.  Software
                 3.  Peopleware
                 4.  Data
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์           
           1.  ความเร็ว 
           2.  ความถูกต้องแม่นยำ 
           3.  เก็บข้อมูลจำนวนมาก
           4.  ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างเร็ว
ฮาร์ดแวร์( Hardware) คือ  ลักษณะทางกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ เป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล  หน่วยแสดงผลลัพธ์   รวมทั้งเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ
                 
                                หน่วยรับข้อมูล               (Input Unit)                 
                                หน่วยประมวลผลกลาง  (Centeal  Processing  Unit)                 
หน่วยความจำหลัก       (Main Memory Unit)
หน่วยแสดงผลลัพธ์       (Output Unit)
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  (Secondory Stovage)
อุปกรณ์ในการประมวลผล  (Computer)                  
                  หน่วยประมวลผลกลาง 
                  หน่วยควบคุม
                  หน่วยคำนวณตรรกะ
                  RAM  (Random Access Memory)
                  Rom  (Read Only Memory)

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบคอมพิวเตอร์




องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
·       ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
 คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
o    หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
o    หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
o    หน่วยความจำหลัก
o    หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
o    หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล
 จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก
 จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ
·       ซอฟต์แวร์ (Software)
        คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )             ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
·         บุคลากร (Peopleware) มี 2 ประเภท คือ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
  ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง         สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
·         กระบวนการทำงาน (Procedure)
             กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง