ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)






ฐานข้อมูล ( Database) หมายถึงชุดของข้อมูลที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่อง ราวเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุดข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลค้า และ ฐานข้อมูล วิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือบางข้อมูลอาจจะได้มาจากการประมวลผลข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลกลับไปเก็บที่ตำแหน่งที่ต้องการ
          ระบบฐานข้อมูล ( Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของ ฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารยผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือ ฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชีฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ดังภาพประกอบดังต่อไปนี้
รูปแบบการสื่อสารข้อมูล






องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
ผู้ส่งสาร (Sender/Source)
ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination)
ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
โปรโตรคอล (Protocal)


การสื่อสารคมนาคม

โทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
เครื่องเทอร์มินิลสำหรับการรับหรือแสดงข้อมูล
ช่องทางสื่อสาร
อุปกรณ์สื่อสาร
ซอฟต์แวร์สื่อสาร

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล (เครื่องแม่ข่าย)Web Server
Mail Server
Proxy Server
DNS Server
DHCP Server
Data Base Server
Applicatio Server
Map Server

ประเภทของสัญญาณแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สัญญาณอันอนาล็อก (Analog signal)
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital signal)

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร
        ช่องสื่อสาร (Communnication channels) หมายถึง รูปแบบใด ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือ ข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง

สื่อนำสัญญาณ ประเภทสาย

UIP : ต่อสายได้ไม่เกิน 100 เมตร ใช้หัว RJ-45
STP : มีฟรอยหุ้ม
COAXIAL : เชื่อต่อได้ไกล , ป้องกันสัญญาณรบกวน
FIBER OPTIC : มีอัตราค่าลดทอนสัญญาณต่ำ

สื่อนำสัญญาณ ประเภทไร้สาย
MICROWAVE
SATELLITE
WI-FI
INFRARED
BRUTHOOD

ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล

             ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที
ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่าความกว้างของช่องสื่อสาร

การสื่อสารและการคมนาคม

การสื่อสารและการคมนาคม

การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อขยายขีดความสามารถที่มีจำกัด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแบ่งปันทรัพยากรให้มีการใช้งานร่วมกัน

โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้

1. อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)

2. ชนิดของสัญญาญข้อมูล (Signal Types)
1.สัญญาณอนาลอก (
Analog Signal) อยู่ในรูปของคลื่นที่มีความต่อเนื่อง
2.สัญญาณดิจิตอล (
Digital Signal) หรือสัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal) มีระดับสัญญาณเพียง ระดับ คือสูงกับต่ำ

3. องค์ประกอบของการสื่อสาร

1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender)
2.ผู้รับข้อมูล (
Receiver)
3.
ข้อมูล (Data)
4.สื่อนำข้อมูล (
Medium)
5.โปโตคอล (
Protocol)

4. ประเภทของเครือข่าย
1.PAN (Personal Area Network)
2.LAN (Local Area Network)
3.MAN (Metropolitan Area Network)
4.WAN (Wide Area Network)

5. รูปแบบเครือข่าย (Topology)

1.แบบดาว (Star Topology)
2.แบบบัส (
Bus Topology)
3.แบบวงแหวน (
Ring Topology)
4.แบบตาข่าย (
Mesh Topology)
5.แบบไร้สาย (
Wireless Topology)
6.
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Equipment)
1.ฮับ (
Hub)
2.สวิตต์ (
Switch)
3.อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (
Repeater)
4.บริดจ์ (
Bridge)

5.เราเตอร์ (Router)

7. ประเภทของสื่อกลาง (Media Types)
1.แบบใช้สาย ได้แก่ แบบสายเกลียวคู่ (
Twisted-pair wires) และ แบบสายเคเบิลร่วมแกน (Coaxial cable) และแบบสายเคเบิลใยแก้ว (Fiber optic)
2.แบบไร้สาย ได้แก่ คลื่นไมโครเวฟ (
Microwave) คลื่นวิทยุ (Radio Wave) และแสงอินฟราเรด (Infrared)

8. แบบของการส่งข้อมูล (Data Transfer Types)
1.สัญญาณไม่สัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบไม่ประสานจังหวะ (
Asynchronously) อักขระแต่ละตัวถูกส่งเพียงแค่ 1 ครั้ง โดยมีบิตเริ่มต้น (Start bit) และบิตสิ้นสุด (Stop bit)
2.สัญญาณสัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบประสานจังหวะ (
Synchronously) ส่งข้อมูลเป็นบล๊อก ข้อมูลเป็นชนิดที่เกิดขึ้นทันที มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อน (Redundancy check) แต่ตรวจด้วยการเพิ่ม bit ต่อท้าย มีไว้เพื่อตรวจความถูกต้อง เรียกว่า parity check เป็นการตรวจว่าผลรวมข้อมูลเป็นเลขคู่ หรือคี่

9. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ (
Centralized Computer Network)
2.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (
Decentralized Computer Network)

10. ความเป็นส่วนตัวของอินเทอร์เน็ต
1.อินเทอร์เน็ต (
Internet) คือ เครือข่ายสาธารณะ
2.อินทราเน็ต (
Intranet) คือ เครือข่ายในองค์กร
3.เอ็กทราเน็ต (
Extranet) คือ เครือข่ายระหว่างองค์กร

11. ทิศทางการส่งข้อมูล (Direction of Data Sending)
1.การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (
Simplex Transmission)
2.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (
Half-Duplex Transmission)
3.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (
Full-Duplex Transmission)

12. โมเด็ม (Modem)
1.มอดูเลเตอร์ (
Modulator) แปลงดิจิทอลเป็นอนาล็อกในการส่งสัญญาณระยะไกล
2.ดีมอดูเลเตอร์ (
Demodulator) แปลงจากอนาล็อกกลับมาเป็นดิจิทอล

13. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
1.แบบมีสาย (
Physical Wire)
สายทวิสเตดแพร์ สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง

2.แบบไร้สาย (Wireless)
ดาวเทียม อินฟราเรด คลื่นวิทยุ และเซลลูลาร์

14. โปรโตคอล (Protocol)
1.TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
2.HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)
3.FTP (File Transfer Protocol)
4.SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
5.POP3 (Post Office Protocol 3)

15. โมเดลการเชื่อมต่อ

1.Physical Layer
2.Data Link Layer
3.Network Layer
4.Transport Layer
5.Session Layer
6.Presentation Layer
7.Application Layer


แป้นพิมพ์

keyboard

                 แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ




Illuminated Keyboard คีย์บอร์ดเรืองแสง



Logitech Illuminated Keyboard


      
       ลอจิเทคประกาศเปิดตัว Logitech® Wireless Illuminated Keyboard K800 คีย์บอร์ดเรืองแสงไร้สายที่สามารถชาร์จประจุใหม่ อำนวยความสะดวกผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถพิมพ์งานในที่มืดได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน


     คีย์บอร์ดเรืองแสงไร้สายรุ่นล่าสุดจาก Logitech ช่วยให้การพิมพ์งานง่ายขึ้นแม้อยู่ในที่มืดๆ ด้วยเทคโนโลยีแสงแบ็คไลท์ มาพร้อมคุณสมบัติเรืองแสงผนวกระบบเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมเมื่อคุณต้องการใช้งาน และยังช่วยประหยัดแบตเตอรี่เมื่อคุณเลิกใช้งานคีย์บอร์ด


      คีย์บอร์ดเรืองแสงจากลอจิเทค รุ่น K800 ช่วยให้คุณพิมพ์งานได้แม้ในที่มืด ด้วยเทคโนโลยีแสงแบ็คไลท์อัตโนมัติที่ปรับตามปริมาณแสงสว่างในห้องด้วยระบบตรวจจับแสงโดยรอบ ขณะที่ระบบ Motion sensor จะตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อให้แสงแบ็คไลท์ทำงานหรือหยุดตามการเคลื่อนไหวของมือผู้ใช้งาน ด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ใช้สามารถใช้แสงแบ็คไลท์ของตัวอักษรที่ส่องสว่าง คมชัดแม่นยำ และอ่านง่ายมากขึ้น ทั้งยังช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ได้นานถึง 10 วันโดยไม่ต้องชาร์จประจุใหม่ (อายุแบตเตอรี่จริงอาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและสภาพแวดล้อม)


     คีย์บอร์ดเรืองแสงจากลอจิเทค รุ่น K800 พร้อมใช้งานเสมอเมื่อคุณต้องการ เพราะใช้งานง่ายเพียงแค่เสียบสาย micro – USB ซึ่งคุณสามารถชาร์จประจุไฟซ้ำได้ขณะที่กำลังพิมพ์ ด้วยคุณสมบัติรวดเร็วและยืดหยุ่นสำหรับการชาร์จไฟซ้ำจึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ แต่คุณสามารถเสียบสาย micro – USB แบบมาตรฐานสากลเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ได้แม้ในขณะใช้งาน


     มาพร้อม Logitech PerfectStroke™ และ Logitech Incurve keys™ เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกในการพิมพ์งาน โดย PerfectStroke เป็นระบบที่ถูกออกแบบให้ตอบสนองต่อการพิมพ์ได้ดีกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้รู้สึกพิมพ์ได้ง่ายขึ้น มีความนุ่มนวล และเงียบกว่าคีย์บอร์ดโดยทั่วไป ในขณะที่ Incurve Key คือการออกแบบปุ่มแต่ละปุ่มให้มีลักษณะเป็นร่องลงไปตรงกลางคีย์ของแต่ละตัวอักษร เพื่อรองรับธรรมชาติรูปทรงของนิ้ว และเพิ่มความสบายให้กับนิ้วมือเมื่อต้องใช้คีย์บอร์ดเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ ตัวอักษรที่สกรีนอยู่บนคีย์บอร์ดยังได้รับการสกรีนแบบพิเศษ จึงทำให้ตัวหนังสือมีความคงทนถาวรและไม่หลุดลอกง่าย


      คีย์บอร์ด K800 เป็นรุ่นล่าสุดในสายผลิตภัณฑ์กลุ่ม Logitech® Unifying ซึ่งใช้ร่วมกับอุปกรณ์รับสัญญาณขนาดกะทัดรัดเพียงตัวเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับคีย์บอร์ดและเมาส์หลายตัวของลอจิเทคได้ ทั้งนี้ Logitech Unifying เป็นตัวรับสัญญาณที่มีขนาดจิ๋วมากจนสามารถเสียบทิ้งไว้ที่แลปท็อปได้ สำหรับคีย์บอร์ดไร้สายที่รองรับระบบ Unifying ที่ใช้เทคนิคการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายด้วย Logitech® Advanced 2.4 GHz wireless connectivity นำเสนอความน่าเชื่อถือแบบเต็มร้อยเฉกเช่นการใช้งานแบบมีสาย พร้อมการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว ไม่ดีเลย์หรือตกหล่น
คีย์บอร์ด Logitech® Wireless Illuminated Keyboard K800 จะวางจำหน่ายในเมืองไทยในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ศกนี้ เคาะราคาที่ 3,950 บาท เกี่ยวกับลอจิเทค

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

RAM,ROM

ประเภทของแรม ( RAM )

แรม (Ram) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
         1. SRAM
หรือมาจากคำเต็มว่า Static RAM ซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูล SRAM จะมีความเร็วในการทำงานสูง แต่ในขณะเดียวกัน SRAM ก็จะกินไฟมากและมีราคาแพงกว่า DRAM มาก ดังนั้น เราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลัก แต่จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน
หรือมาจากคำว่า Dynamic RAM ซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรช ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไปค่ะ สำหรับการรีเฟรช ( Refresh ) ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิด DRAM นี้ จะเก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติมประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องมีวงจรสำหรับการทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิด DRAM  แต่หน่วยความจำชนิด DRAM ก็มีข้อดีของมันเหมือนกัน นั่นก็คือ มีราคาที่ถูก และสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า ดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAM นี้มาเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์

         
2. DRAM


ประเภทของรอม ( ROM )
รอม (Rom) แบ่งออกได้เป็น  4 ประเภท ดังนี้

1.Manual ROM    /  ROM (READ-ONLY MEMORY)

         
ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ 

2.PROM (Programmable ROM)/PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

3.EPROM (Erasable Programmable ROM)/EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)

       
ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่

4.EAROM (Electrically Alterable ROM)/EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
          EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
        
การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ
EPROM